วันศุกร์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2555

ทดสอบปลายภาค

ให้นักศึกษาอ่านบทความ วิเคราะห์แสดงความคิดเห็น
1. แท็บเล็ตเพื่อการศึกษา ให้นักศึกษาอ่านบทความอย่างน้อย 3 บทความหรือมากกว่า ใช้ Keywordว่า "แท็บเล็ตเพื่อการศึกษา"ให้เขียนเชื่อมโยง วิเคราะห์ลงในบล็อกของนักเรียน


               แท็บเล็ต คือคอมพิวเตอร์แบบพกพา ที่ควบคุมการใช้งานผ่านหน้าจอสัมผัส มีขนามเล็กกว่าคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ค พกกาง่าย น้ำหนักเบา มีคีย์บอร์ดในตัว ระบบการเชื่อมต่อสัญญาณเครือข่ายอิมเตอร์เน็ตแบบ WiFi และ WiFi + 3G
"แท็บเล็ต" (Teblet) เพื่อการศึกษา
           งานเขียนของคุณ  สุรศักดิ์ ปาเฮ เรื่อง "แท็บเล็ต" (Teblet) เพื่อการศึกษา เห็นว่าเป็นเรื่องที่พวกเราควรจะได้รับรู้รับทราบ ความเป็นมาเป็นไปในการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการจัดการศึกษาไทย ของเราและของลูกหลานของเรา สรุปความได้ว่า    ในยุคที่เทคโนโลยีสารสนเทศเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว นวัตกรรมใหม่อย่าง "แท็บเล็ต" (Teblet) กำลังได้รับความสนใจอย่างแพร่หลายมากขึ้น ล่าสุดนโยบายของรัฐบาล "ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร" นั้น ได้นำ "แท็บเล็ตเพื่อการศึกษา" มาเป็นเครื่องมือยกระดับคุณภาพและกระจายโอกาสทางการศึกษา ทำให้แท็บเล็ตได้ก้าวเข้ามาเป็นเครื่องมือที่สำคัญ ในการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการจัดการศึกษาไทย        
           นโยบายการศึกษาภาครัฐโดยเฉพาะด้านการศึกษาของรัฐบาลปัจจุบันที่ได้แถลงไว้เมื่อวันที่ 26สิงหาคม 2554  เกี่ยวกับนโยบายด้านการพัฒนาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษาให้ทัดเทียมกับนาๆชาติ  ต่อรัฐสภาว่าเป็นนโยบายที่มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง  ในการยกระดับคุณภาพการศึกษาและกระจายโอกาสทางการศึกษาให้มีระบบการเรียนแบบอิเล็กทรอนิคส์แห่งชาติเป็นกลไกในการปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ของการเรียนรู้  โดยเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางและเอื้อให้เกิดการเรียนรู้ตลอดชีพ  พัฒนาเครือข่ายและพัฒนาระบบไซเบอร์โฮม(Cyber  Home) ที่สามารถส่งความรู้มายังผู้เรียนด้วยระบบอินเตอร์เน็ตความเร็วสูง โดยการจัดให้มีการแจกแท็บเล็ตเพื่อการศึกษา(Tablet  for  Education)ที่เป็นเครื่องมือด้านสื่อเทคโนโลยีที่สำคัญและมีอิทธิพลค่อนข้างมากต่อการปรับใช้ในการสร้างมิติแห่งการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาจัดการศึกษาของไทยปัจจุบัน โดยที่นโยบายของการปฏิบัติกับนักเรียนช่วงแรกตามโครงการ One  Tablet  PC  Per  Child จะมุ่งเน้นไปที่นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1  จำนวน 539,466 คน เป็นกลุ่มเป้าหมายนำร่องที่สำคัญของการนำสื่อแท็บเล็ตสู่การพัฒนาการเรียนรู้ครั้งนี้
จุดเด่น ของการใช้แท็บเล็ต
                            1.สนองต่อการเรียนรู้เป็นรายบุคคล
                            2.เป็นสื่อที่ก่อให้เกิดการสร้างปฏิสัมพันธ์อย่างมีความหมาย
                            3.เกิดการแบ่งปันประสบการณ์ซึ่งกันและกัน
                            4.สามารถออกแบบหน่วยการเรียนรู้ได้ชัดเจน และมีความยืดหยุ่น
                            5.ส่งผลสะท้อนความก้าวหน้าทางการเรียนรู้จากเนื้อหาที่เรียนต่อผู้เรียนได้ดีและสามารถช่วยให้ผู้เรียนปรับปรุงตนเองในการเรียนรู้เนื้อหาสาระ
                            6.สนองต่อคุณภาพข้อมูลสารสนเทศ ทำให้ผู้เรียนเข้าถึงเนื้อหาสาระของข้อมูลสารสนเทศ
จุดบกพร่องของการใช้แท็บเล็ต
                            1.ขณะนี้ประเทศไทยยังไม่มีหลักสูตรการเรียนการสอนโดยการใช้ Tablet
                            2.ครูผู้สอนยังขาดทักษะในการใช้อุปกรณ์ Tablet ในการจัดการเรียนการสอน ในขณะที่ผู้เรียนบางคนมีความพร้อมที่จะเรียน
                            3.ยังไม่มีการสร้างเนื้อหาบทเรียนและกิจกรรมที่ใช้ประกอบการเรียนการสอน
                            4.ยังไม่มีหน่วยงานรับผิดชอบ ด้านการบำรุงรักษา  การแก้ปัญหาเรื่องอุปกรณ์และการใช้งาน
                            5.มีการจำกัดผู้เรียนในการเข้าถึงแหล่งเรียนรู้ (อินเตอร์เน็ต ซึ่งทำให้ผู้เรียนขาดอิสระใน
การเรียนรู้
                            จากสรุปผลงานวิจัยของ Bata  ICT  Research  ที่ได้ศึกษาผลการใช้แท็บเล็ตพีซีประกอบการเรียนการสอนในโรงเรียนประถมศึกษาจำนวน 12 โรงเรียนในประเทศอังกฤษช่วงระหว่าง ค.ศ.2004-2005 ซึ่งมีผลการศึกษาหลายประการที่นำมาพิจารณาและนำมาประยุกต์ใช้ได้กับบริบทด้านการศึกษาของไทย สามารถสรุปได้ ดังนี้
ด้านการเรียน
             การใช้แท็บเล็ต(Tablet) โดยให้ผู้เรียนและผู้สอนมีแท็บเล็ตพีซีเป็นของตนเองอย่างทั่วถึง เป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยให้เกิดการใช้อย่างมีประสิทธิผล โดยพบว่าการใช้แท็บเล็ตเป็นการสร้างแรงจูงใจของผู้เรียนและมีผลกระทบในทางบวกต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน อีกทั้งช่วยให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง เข้าถึงองค์ความรู้นอกห้องเรียนอย่างกว้างขวาง
ด้านหลักสูตร
             สำหรับด้านหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอนนั้นพบว่า  การใช้แท็บเล็ตพีซีนั้นช่วยส่งเสริมให้มีการใช้เทคโนโลยีในการจัดการเรียนการสอน  และส่งเสริมให้มีการพัฒนาหลักสูตรหรือการจัดการเรียนการสอนที่มีเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นส่วนประกอบมากขึ้น  อย่างไรก็ตามการสร้างให้เกิดผลสำเร็จดังกล่าวนั้นต้องอาศัยปัจจัยสนับสนุนและการจัดการในด้านต่างๆจากผู้บริหารเช่นการสนับสนุนให้มีเครือข่ายสื่อสารแบบไร้สาย(Wireless Network) และเครื่องสายแบบไร้สาย (Wireless Data Projector) ที่มีประสิทธิภาพ เพื่อสามารถสร้างและใช้งานให้เกิดประโยชน์สูงสุด ในการประกอบการเรียนการสอนในสถานศึกษาต่อไป
                            ดังนั้นเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพที่ดีที่สุดสำหรับครูไทย คือ ต้องต้องแก้ไขข้อบกพร่องที่มีอยู่และจัดโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศที่ดีอย่างเพียงพอ และพัฒนาบุคลากรในการใช้แท็บเล็ต  เพื่อให้ครูเกิดความคุ้นชิน และมีทักษะ ในการใช้แท็บเล็ตอย่างมีประสิทธิภาพ  อีกทั้งกระตุ้นให้ผู้เรียนและผู้สอนมีความกระตือรือร้นและมีเวลาเพียงพอที่จะได้ทดลองและสร้างนวัตกรรมการใช้งานแท็บเล็ต ของตนเอง เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุดในการจัดการเรียนการสอน  และก้าวไปสู่การศึกษาสากลเป็นที่ยอมรับของนานาชาติ  มิใช่เป็นเพียงม่านบังตาที่ฝรั่งเห็นแล้วอมยิ้ม  เพราะการศึกษาของไทยยังต้องพัฒนาอีกมากเมื่อเทียบกับประเทศที่พัฒนาแล้ว
 ที่มา : บทความแท็บเล็ตเพื่อการศึกษา : โอกาสและความท้าทาย ( Tablet for Education : The Opportunity and Challenge ) โดย สุรศักดิ์ ปาเฮ
             บทความแท็บเล็ตเพื่อการศึกษา โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. วิทยา อารีราษฎร์  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. พิสุทธา อารีราษฎร์ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
             จดหมายข่าวสำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา ปีที่ 3 ฉบับ 125 ประจำวันที่ 30 กรกฏาคม 2555  เรื่องแท็บเล็ตเพื่อการศึกษาไทย ระยะที่ ๑ ปีการศึกษา ๒๕๕๕ โรงเรียนสาธิตในสังกัด สกอ. ๑๒ แห่ง ได้รับ ๑,๓๑๔ เครื่อง

2.อ่านบทความเรื่องสมาคมอาเซียนอ่านบทความอย่างน้อย 3 บทความหรือมากกว่า ใช้ Keywordว่า "สมาคมอาเซียน" ให้เขียนวิเคราะห์ ประเทศไทย ประเทศเพื่อนบ้าน การเตรียมตัวเป็นครู นักเรียน นักศึกษา เพื่อไปสู่อาเซียนได้อย่างไร

ประเทศไทยมีบทบาทสำคัญในการผลักดันความร่วมมือของอาเซียนให้มีความคืบหน้ามาโดยตลอด  โดยสร้างขึ้นจากสภาพความตึงเครียด  อันเป็นผลมาจากสงครามเย็น ซึ่งมีความขัดแย้งด้านอุดมการณ์ ระหว่างประเทศที่สนับสนุนอุดมการณ์เสรีนิยมประชาธิปไตยกับประเทศที่ยึดมั่นในอุดมการณ์สังคมนิยมคอมมิวนิสต์  โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของไทย  เดินทางไปเจรจาไกล่เกลี่ยความขัดแย้งระหว่างประเทศเพื่อนบ้านเหล่านี้  เพราะแต่ละประเทศอาเซียนได้มีบทบาทสำคัญในการเสริมสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจระหว่างประเทศในภูมิภาค ลดความหวาดระแวง และช่วยเสริมสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อการพัฒนาทางเศรษฐกิจ  และที่สำคัญไทยได้เป็นแกนนำร่วมกับอินโดนีเซียและประเทศสมาชิกอาเซียน  ดั้งเดิมในการแก้ไขปัญหากัมพูชา รวมทั้งความร่วมมือในการแก้ไขปัญหาผู้ลี้ภัยอินโดจีนจนประสบความสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี และช่วยเสริมสร้างสันติภาพ เสถียรภาพ และความมั่นคงในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อไทยซึ่งเป็นประเทศด่านหน้า
สำหรับการสร้างเครือข่ายเชื่อมโยงในภูมิภาค  นั้น  จะต้องดำเนินการทั้งในด้านกายภาพ คือ การพัฒนาเส้นทางคมนาคม ทั้งทางบก ทางน้ำ และทางอากาศ ตลอดจนเครื่อข่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ ต่าง ๆ เพื่ออำนวยความสะดวกในด้านการติดต่อค้าขาย การท่องเที่ยว และการเดินทางไปมาหาสู่กันระหว่างประชาชนนอกจากนั้น ยังต้องให้ความสำคัญต่อการสร้างความเชื่อมโยงในเชิงจิตวิญญาน คือ การทำให้ประชาชนในภูมิภาคมีความรู้สึกเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันและตระหนักถึงการเป็นประชากรของอาเซียนร่วมกัน  เพื่อเสริมสร้าง ความเข้าใจระหว่างประชาชนให้ยอมรับถึงความแตกต่างและสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างสงบสุข
                ในอนาคตคนไทยจะได้รับประโยชน์จากการรวมตัวเป็นประชาคมของอาเซียนมากน้อยเพียงใดย่อมขึ้นอยู่กับการเตรียมความพร้อมของเรา  ดังนั้น  การสร้างความตื่นตัวและให้ความรู้กับประชาชนจึงเป็นเรื่องสำคัญ  เพื่อให้ตระหนักถึงโอกาสและเสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันซึ่งจะช่วยให้คนไทยได้รับประโยชน์อย่างเต็มที่  ในขณะเดียวกันก็ต้องป้องกันไม่ให้เกิดผลกระทบในทางลบแก่ภาคส่วนต่าง ๆ
การเตรียมตัวเป็นครู นักเรียน นักศึกษา เพื่อไปสู่อาเซียน
            1. ปรับกรอบแนวคิดของตัวเองให้เปิดกว้าง ศึกษาให้เข้าใจถึงผลกระทบทุกด้าน เพื่อเตรียมตัวก้าวสู่ประชาคมอาเซียน เพื่อการวางตัวให้เหมาะสมกับสถานการณ์ที่คืบคลานเข้ามา
            2. ศึกษาและทำความเข้าใจความเป็นประชาคมอาเซียนให้ดีว่า มันคืออะไร หน้าตาของประชาคมอาเซียนเป็นอย่างไร
            3. ฝึกฝนเพิ่มทักษะการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร เพราะ ภาษาอังกฤษเป็นภาษากลางของอาเซียน และควรเพิ่มการฝึกฝนภาษาที่ 4 ด้วย   
            4. ศึกษาและทำความเข้าใจความรู้เกี่ยวกับกฎและระเบียบต่างๆของ          
            5. พัฒนาทักษะของเราให้มีมาตรฐานอยู่เสมอ และเป็นที่ต้องการของตลาด
ที่มา :     ดร.ชูศักดิ์  ประเสริฐ .เรื่องสมาคมอาเซียน. ผอ.กลุ่มนโยบายและแผน
ไมตรี  สุนทรวรรณ. เรื่องสมาคมอาเซียน. กรรมการผู้จัดการ.
บริษัท วี เอ็ม เอส ดีเวลลอปเม้นท์  แอนด์ เทคโนโลยี จำกัด.
เอกสารออนไลน์. เรื่องแท็บเล็ตเพื่อการศึกษา ( 27/08/2555)  สืบค้นข้อมูลจาก

3.อ่านบทความครูกับภาวะผู้นำของ ผศ.ดร.สมาน คำฟูแสง ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับครู ให้ยกตัวอย่าง ประกอบ แสดงความคิดเห็น บทความ ผศ.ดร.สมาน คำฟูแสง
"การที่ครูมีความรู้  ความสามารถ  และแสดงออกให้เห็นว่าเป็นผู้มีสมรรถนะด้านการจัดการเรียนการสอน  เป็นที่ยอมรับของเพื่อนครู นักเรียน (นักศึกษา) และผู้ปกครอง จนทำให้เกิดกระบวนการพัฒนาอย่างมีส่วนร่วมให้เกิดในองค์กรได้" และได้พูดถึง "ครูกับภาวะผู้นำทางวิชาการ"โดยหยิบยกมาจาก Diann De Pasquale ศาสตราจารย์ของมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ได้เสนอว่า ครูที่จะเป็นผู้นำทางวิชาการ หรือผู้นำทางการเรียนการสอน  ควรมีพฤติกรรม  7 ประการ คือ
1.หาหนังสือที่ติดอันดับขายที่ดีที่สุดมาอ่าน
2. อยู่กับปัจจุบัน /ทันสมัย
3. หาข้อมูล มีความรู้ที่เกี่ยวกับเด็ก
4. ทำให้เด็กแสดงออกซึ่งการเป็นภาวะผู้นำ
5. กำหนดให้เด็กทำงานรวมกันเป็นกลุ่ม
6. เชิญบุคคลภายนอกมาพูดให้เด็กฟัง
7. ท้าทายให้เด็กได้คิด
จากบทความข้างต้นของ ผศ.ดร.สมาน คำฟูแสง  สามารถสรุปได้ว่า ครูจัดอยู่ใน วิชาชีพทางการศึกษาซึ่งเป็นวิชาชีพชั้นสูงที่ต้องอาศัยความรู้ความชำนาญเป็นการเฉพาะ เป็นวิชาชีพที่มีผลกระทบต่อผู้รับบริการและสาธารณชน จึงต้องมีการควบคุมการประกอบวิชาชีพเป็นพิเศษ

4.ให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็นและประเมินวิชานี้ว่า การเรียนรู้โดยใช้บล็อก นักศึกษามีวิธีการเรียนรู้อย่างไร แสดงความคิดเห็นหากจะเรียนรู้โดยใช้บล็อก ต่อไปข้างหน้าโอกาสจะเป็นอย่างไร ควรที่จะให้คะแนนวิชานี้อย่างไร และหากนักเรียนต้องการจะได้เกรดในวิชานี้ นักเรียนจะต้องพิจารณาว่า
               จากการเรียนวิชาการบริการจัดการในชั้นเรียน ได้เกิดการเรียนรู้มีทักษะในการใช้คอมพิวเตอร์มากขึ้น มีความรู้ที่ไม่อยู่ในกรอบ คือสามารถเรียนรู้ได้มากว่าในห้องเรียน คือการเรียนแบบออนไลน์ก็ว่าได้ ได้เกิดการเรียนรู้ที่เกิดจากการศึกษาด้วยตัวเองเยอะ ทำให้เกิดทักษะกระบวนการคิดวิเคราะห์ และสังเคราะห์ หากมีการเรียนรู้แบบนี้สามารถทำให้เรานำไปประยุกต์ใช้ได้ในชีวิตประจำวันเนื่องจากในโลกการเปลี่ยนแปลงวันข้างหน้ามีการเรียนรู้โดยใช้แท็บเล็ต เราก็มีพื้นฐานในการใช้เทคโนโลยีอยู่บ้างจึงเป็นการง่ายที่จะนำไปใช้ต่อไป
1. ฉันมีความพยายามในการเรียนวิชานี้เป็นอย่างมาก    เนื่องจากวิชานี้เป็นวิชาที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการในชั้นเรียน   ซึ่งต่อไปในอนาคตเราจะต้องไปเป็นครูจำเป็นจะต้องรู้เรื่องดังกล่าวอยู่แล้ว ดังนั้นฉันจึงพยายามหาความรู้ให้ได้มากที่สุด โดยการตั้งใจทำบล็อกและนำเนื้อหาใส่ลงไปในบล็อกตามกิจกรรมที่อาจารย์สั่ง   เผื่อต่อไปในอนาคตจะได้นำความรู้ที่ใส่ลงในบล็อกกลับมาดูได้อีกครั้ง
2. ฉันเข้าเรียนทุกครั้งไม่เคยขาด
3. ฉันทำงานส่งผ่านบล็อกตามกำหนดทุกครั้งที่อาจารย์สั่งงาน
4. ฉันทำงานบทบล็อกด้วยความคิดของตนเองไม่ใช้ความคิดคนอื่น   โดยการค้นหาข้อมูลจากอินเตอร์เน็ต   และนำข้อมูลที่ได้มาประกอบความคิดเห็นของตัวเองจนได้คำตอบออกมาใส่ลงในบล็อก
5. สิ่งที่ฉันตอบมาเป็นความสัตย์จริง   เพราะฉันมีความตั้งใจในการทำงาน   ใช้ความคิดเห็นของตนเองประกอบกับข้อมูลที่หามาได้จากอินเตอร์เน็ตในการตอบคำถามตามกิจกรรมที่อาจารย์สั่ง   มาเรียนตรงตามเวลา   ไม่เคยขาดเรียน
                6. ถ้าถามว่าอยากได้เกรดอะไร อยากได้เกรด A เพราะในการเรียนวิชานี้ดิฉันมีความพยายามและตั้งใจในการทำงานทุกชิ้นที่ได้รับมอบหมาย

กิจกรรมที่ 9

กิจกรรมที่ 9 การจัดบรรยากาศในชั้นเรียน

             บรรยากาศในชั้นเรียนมีส่วนสำคัญในการส่งเสริมความสนใจใคร่รู้ใคร่เรียนให้แก่ผู้เรียน   ชั้นเรียนที่มีบรรยากาศเต็มไปด้วยความอบอุ่น ความเห็นอกเห็นใจ และความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อกันและกัน ย่อมเป็นแรงจูงใจภายนอกที่กระตุ้นให้ผู้เรียนรักการเรียน รักการอยู่ร่วมกันในชั้นเรียน และช่วยปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม ความประพฤติอันดีงามให้แก่นักเรียน นอกจากนี้การมีห้องเรียนที่มีบรรยากาศแจ่มใส สะอาด สว่าง กว้างขวางพอเหมาะ มีโต๊ะเก้าอี้ที่เป็นระเบียบเรียบร้อย มีมุมวิชาการส่งเสริมความรู้ มีการตกแต่งห้องให้สดใส ก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่ส่งผลทำให้ผู้เรียนพอใจมาโรงเรียน เข้าห้องเรียนและพร้อมที่จะมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนการสอน ดังนั้น ผู้เป็นครูจึงต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความหมาย ความสำคัญ ประเภทของบรรยากาศ หลักการจัดบรรยากาศในชั้นเรียนและการจัดการเรียนรู้อย่างมีความสุข เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีลักษณะตามที่หลักสูตรได้กำหนดไว้
             ในการจัดการเรียนการสอน ผู้สอนต่างปรารถนาให้จัดกิจกรรมการเรียนการสอนดำเนินไปอย่างราบรื่น และผู้เรียนเกิดพฤติกรรมตามจุดประสงค์ที่กำหนดไว้ในหลักสูตร บรรยากาศในชั้นเรียนมีส่วนสำคัญในการส่งเสริมให้ความปรารถนานี้เป็นจริง
กล่าวถึงบรรยากาศในชั้นเรียนที่จะนำไปสู่ความสำเร็จในการสอน จัดแบ่งได้ 6 ลักษณะ สรุปได้ดังนี้
             1.บรรยากาศที่ท้าทาย (Challenge)   เป็นบรรยากาศที่ครูกระตุ้นให้กำลังใจนักเรียนเพื่อให้ประสบผลสำเร็จในการทำงาน นักเรียนจะเกิดความเชื่อมั่นในตนเองและพยายามทำงานให้สำเร็จ
             2.บรรยากาศที่มีอิสระ (Freedom) เป็นบรรยากาศที่นักเรียนมีโอกาสได้คิด ได้ตัดสินใจเลือกสิ่งที่มีความหมายและมีคุณค่า รวมถึงโอกาสที่จะทำผิดด้วย โดยปราศจากความกลัวและวิตกกังวล บรรยากาศเช่นนี้จะส่งเสริมการเรียนรู้ ผู้เรียนจะปฏิบัติกิจกรรมด้วยความตั้งใจโดยไม่รู้สึกตึงเครียด
             3.บรรยากาศที่มีการยอมรับนับถือ (Respect) เป็นบรรยากาศที่ครูรู้สึกว่านักเรียนเป็นบุคคลสำคัญ มีคุณค่า และสามารถเรียนได้ อันส่งผลให้นักเรียนเกิดความเชื่อมั่นในตนเองและเกิดความยอมรับนับถือตนเอง
             4.บรรยากาศที่มีความอบอุ่น (Warmth) เป็นบรรยากาศทางด้านจิตใจ ซึ่งมีผลต่อความสำเร็จในการเรียน การที่ครูมีความเข้าใจนักเรียน เป็นมิตร ยอมรับให้ความช่วยเหลือ จะทำให้นักเรียนเกิดความอบอุ่น สบายใจ รักครู รักโรงเรียน และรักการมาเรียน   
             5.บรรยากาศแห่งการควบคุม (Control) การควบคุมในที่นี้ หมายถึง การฝึกให้นักเรียนมีระเบียบวินัย มิใช่การควบคุม ไม่ให้มีอิสระ ครูต้องมีเทคนิคในการปกครองชั้นเรียนและฝึกให้นักเรียนรู้จักใช้สิทธิหน้าที่ของตนเองอย่างมีขอบเขต
             6.บรรยากาศแห่งความสำเร็จ (Success) เป็นบรรยากาศที่ผู้เรียนเกิดความรู้สึกประสบความสำเร็จในงานที่ทำ ซึ่งส่งผลให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดีขึ้น ผู้สอนจึงควรพูดถึงสิ่งที่ผู้เรียนประสบความสำเร็จให้มากกว่าการพูดถึงความล้มเหลว  เพราะการที่คนเราคำนึงถึงแต่สิ่งที่ล้มเหลว เพราะการที่คนเราคำนึงถึงแต่ความล้มเหลวจะมีผลทำให้ความคาดหวังต่ำ ซึ่งไม่ส่งเสริมให้การเรียนรู้ดีขึ้น
             บรรยากาศทั้ง 6 ลักษณะนี้ มีผลต่อความสำเร็จของผู้สอนและความสำเร็จของผู้เรียนผู้สอนควรสร้างให้เกิดในชั้นเรียน
           การจัดบรรยากาศทางด้านกายภาพ เป็นการจัดวัสดุอุปกรณ์สิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการเรียนการสอน รวมตลอดไปถึงสิ่งต่าง ๆ ที่เสริมความรู้ เช่น ป้ายนิเทศ มุมวิชาการ ชั้นวางหนังสือ โต๊ะวางสื่อการสอน ฯลฯ ให้เป็นระเบียบเรียบร้อย ทำให้เกิดความสบายตา สบายใจ แก่ผู้พบเห็น ถ้าจะกล่าวโดยละเอียดแล้ว การจัดบรรยากาศทางด้ายกายภาพ ได้แก่ การจัดสิ่งต่อไปนี้
                1.การจัดโต๊ะเรียนและเก้าอี้ของนักเรียน
                            1.1   ให้มีขนาดเหมาะสมกับรูปร่างและวัยของนักเรียน
                            1.2   ให้มีช่องว่างระหว่างแถวที่นักเรียนจะลุกนั่งได้สะดวก และทำกิจกรรมได้คล่องตัว
                            1.3   ให้มีความสะดวกต่อการทำความสะอาดและเคลื่อนย้ายเปลี่ยนรูปแบบที่นั่งเรียน
                            1.4   ให้มีรูปแบบที่ไม่จำเจ เช่น อาจเปลี่ยนเป็นรูปตัวที ตัวยู รูปครึ่งวงกลม หรือ เข้ากลุ่มเป็นวงกลม ได้อย่างเหมาะสมกับกิจกรรมการเรียนการสอน
                            1.5   ให้นักเรียนที่นั่งทุกจุดอ่านกระดานดำได้ชัดเจน
                            1.6   แถวหน้าของโต๊ะเรียนควรอยู่ห่างจากกระดานดำพอสมควร ไม่น้อยกว่า 3 เมตร ไม่ควรจัดโต๊ะติดกระดานดำมากเกินไป ทำให้นักเรียนต้องแหงนมองกระดานดำ และหายใจเอาฝุ่นชอล์กเข้าไปมาก ทำให้เสียสุขภาพ
                2.การจัดโต๊ะครู
                            2.1   ให้อยู่ในจุดที่เหมาะสม อาจจัดไว้หน้าห้อง ข้างห้อง หรือหลังห้องก็ได้ งานวิจัยบางเรื่องเสนอแนะให้จัดโต๊ะครูไว้ด้านหลังห้องเพื่อให้มองเห็นนักเรียนได้อย่างทั่วถึง อย่างไรก็ตาม การจัดโต๊ะครูนั้นขึ้นอยู่กับรูปแบบการจัดที่นั่งของนักเรียนด้วย
                            2.2   ให้มีความเป็นระเบียบเรียบร้อย ทั้งบนโต๊ะและในลิ้นชักโต๊ะ เพื่อสะดวกต่อการทำงานของครู และการวางสมุดงานของนักเรียน ตลอดจนเพื่อปลูกฝังลักษณะนิสัยความเป็นระเบียบเรียบร้อยแก่นักเรียน
                3. การจัดป้ายนิเทศ  ป้ายนิเทศไว้ที่ฝาผนังของห้องเรียน ส่วนใหญ่จะติดไว้ที่ข้างกระดานดำทั้ง 2 ข้าง ครูควรใช้ป้ายนิเทศที่เป็นประโยชน์ต่อการเรียนการสอน โดย
                            3.1    จัดตกแต่งออกแบบให้สวยงาม น่าดู สร้างความสนใจให้แกนักเรียน
                            3.2    จัดเนื้อหาสาระให้สอดคล้องกับบทเรียน อาจใช้ติดสรุปบทเรียน ทบทวนบทเรียน หรือเสริมความรู้ให้แก่นักเรียน
           3.3    จัดให้ใหม่อยู่เสมอ สอดคล้องกับเหตุการณ์สำคัญ หรือวันสำคัญต่าง ๆ ที่นักเรียนเรียนและควรรู้
                            3.4    จัดติดผลงานของนักเรียนและแผนภูมิแสดงความก้าวหน้าในการเรียนของนักเรียนจะเป็นการให้แรงจูงใจที่น่าสนใจวิธีหนึ่ง
                กล่าวโดยสรุป   การจัดบรรยากาศในชั้นเรียน มุ่งส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดความรู้สึกที่ดีต่อการเรียนการสอนและเกิดความศรัทธาในครูผู้สอน ดังนั้น ครูผู้สอนจึงควรตระหนักถึงความสำคัญของการสร้างบรรยากาศทางจิตวิทยา โดยปรับบุคลิกภาพความเป็นครูให้เหมาะสมปรับพฤติกรรมการสอนให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดี มีเทคนิคในการปกครองชั้นเรียน และสร้างปฏิสัมพันธ์ที่ส่งเสริมการเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียน

กิจกรรมที่ 8

กิจกรรมที่ 8 ครูมืออาชีพในอุดมคติ
 
ความเป็นมืออาชีพของครูควรที่จะต้องยึดถือและปฏิบัติให้เกิดความสัมพันธ์กับมาตรฐานของวิชาชีพครูซึ่งมีความสำคัญและความจำเป็นต่อครูทุกคนทั้งนี้เนื่องจากกระแสแห่งโลกาภิวัตน์ทำให้ มีความจำเป็นที่บุคคลจักต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมทุกระดับให้มีความสำนึกต่อบทบาทและภารกิจต่าง ๆ ที่มีต่อสังคมมากขึ้นการเปลี่ยนแปลงทางกฎหมายรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพ.ศ. 2540 และ พ.ร.บ. การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542พร้อมทั้งกฎระเบียบข้อบังคับและกติกาทางสังคมแห่งยุคประชาธิปไตย เป็นสิ่งบ่งบอกว่าต่อไปนี้ สังคม องค์การ หน่วยงานและหน่วยปฏิบัติต่าง ๆ มีความต้องการ "ครูมืออาชีพ" มิใช่เพียงแต่มี "อาชีพครู" เกิดขึ้นเท่านั้น ซึ่งตามทัศนะของผู้เขียนแล้ว "ครูมืออาชีพ" จักต้องมีลักษณะพื้นฐานในตน 3 ประการ ต่อไปนี้ คือ
1. ครูต้องมี ฉันทะ ต่ออาชีพครู เป็นพื้นฐาน
2. ครูต้องมีความเมตตา ต่อเด็กและบุคคลรอบข้างเป็นพื้นฐาน และ
3. ครูต้องมีความเป็น กัลยาณมิตร พร้อมเสมอที่จะช่วยเหลือผู้อื่นด้วยความบริสุทธิ์ใจ
ครูมืออาชีพต้องมีคุณภาพการสอน สิ่งที่ครูมืออาชีพควรตระหนักเป็นอย่างยิ่งก็คือ "คุณภาพการสอน" ซึ่งเป็นความสามารถที่จะสร้างสรรค์สิ่งแวดล้อมในการเรียนรู้ เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการเรียนรู้ของผู้เรียนทุกคน ครูมืออาชีพ จึงต้องมีความสามารถต่อไปนี้
1. สามารถประยุกต์ใช้ยุทธศาสตร์ และการจัดระบบ ได้อย่างเหมาะสมกับการเรียนรู้และความต้องการทางการศึกษาของผู้เรียน สภาพแวดล้อมของโรงเรียนและสาระการเรียนรู้ที่สอน
2. สามารถติดตามการเรียนรู้ผู้เรียนเป็นรายบุคคล ใช้ข้อมูลย้อนกลับเพื่อวางแผนให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียนเป็นรายบุคคล เป็นกลุ่มและเป็นชั้น
3. ส่งเสริมให้ผู้เรียนเรียนรู้อย่างอิสระ ฝึกการใช้ภาษา คาดหวังให้ผู้เรียนมีความรับผิดชอบในการเรียนรู้
4. พัฒนาความสัมพันธ์เชิงจรรยาบรรณ บนพื้นฐานทักษะการสื่อสารที่ดีให้การยอมรับผู้เรียนทุกคน และคาดหวังจะได้รับการยอมรับจากผู้เรียน
5. มีความรู้ที่ทันสมัย และสนับสนุนข้อคิดเห็นที่มีต่อหลักสูตรอย่างกระตือรือร้น
6. เชื่อความสามารถในการเรียนของผู้เรียนทุกคน คาดหวังว่าผู้เรียนทุกคนเรียนรู้และส่งความคาดหวังนี้ไปยังแต่ละบุคคล โรงเรียนและชุมชน
7. กระตือรือร้นในการฝึกผู้เรียนเข้าสู่ประสบการณ์แห่งการเรียนรู้เรื่องที่ผู้เรียนเห็นว่ามีความสำคัญต่อชีวิตของตน
8. ช่วยให้ผู้เรียนสามารถสร้างความเชื่อมโยง เข้าใจความสัมพันธ์ทั้งภายในและระหว่างสาระการเรียนรู้
สรุป  
                การสอนเป็นภารกิจหลักของครู ครูมืออาชีพจึงต้องเน้นการสอนให้มีคุณภาพ เพราะว่าคุณภาพการสอนของครูย่อมส่งผลดีต่อนักเรียน และเยาวชนของชาติ การประเมินคุณภาพของครูจึงสมควรอย่างยิ่งที่จะต้องประเมินจากตัวเด็กและเยาวชนของชาติ ดังคำกล่าวที่ว่า คุณภาพของเด็กสะท้อน คุณภาพของครูดังนั้นครูมืออาชีพควรมีและควรเป็นก็คือ ต้องเน้นคุณลักษณะพื้นฐานนั่นคือ ฉันทะ เมตตา และ กัลยาณมิตร ซึ่งถือว่าเป็นคุณภาพพื้นฐานที่สำคัญของครู และพัฒนาการสอนของครูซึ่งเป็นภารกิจหลัก โดยเฉพาะการสอนอย่างมีคุณภาพ นั่นคือ ครูมืออาชีพ จึงต้องมีคุณธรรมโน้มนำ ทำการสอนอย่างมีคุณภาพ มีภาพลักษณ์ของความเป็นครูดี เพื่อพัฒนาศักดิ์ศรีของอาชีพครูสืบไป

กิจกรรมพิเศษ

วันอาทิตย์ที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

กิจกรรมทดสอบกลางภาคเรียน

กิจกรรมทดสอบกลางภาคเรียน
บทความ เรื่อง ความเป็นครูในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว


1.ข้อสรุปที่ได้จากบทความ "ความเป็นครูในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว"
             พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเป็นครูแห่งแผ่นดิน ความเป็นครูของพระองค์ท่านคือ ทรงทำให้ดูเป็นแบบอย่างเป็นครูที่พยายามที่จะจูงใจนักเรียนให้มาสนใจ พยายามสอนให้นักเรียนรู้ให้นักเรียนเข้าใจ และเมื่อจะสอนให้คนดี ครูต้องดีก่อน จะสอนให้เด็กทำอะไรครูต้องเป็นอย่างนั้นก่อน การเรียนไม่ใช่เรียนในเฉพาะห้องเรียนเท่านั้นแต่บางอย่างเราต้องเรียนรู้ด้วยสถานการณ์จริงด้วย และพระองค์ท่านยังทรงสอนให้เคารพคน ให้รู้จักคน ให้เข้าใจคน ให้รู้รักสามัคคี ปรองดองกัน

2.ถ้าท่านเป็นครูผู้สอนท่านจะนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์กับการเรียนการสอนได้อย่างไร
                 ในการจัดการเรียนการสอนจะนำความรู้มาที่ได้รับมาประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับเนื้อหารายวิชา โดยคำนึงถึงตัวผู้เรียนและจุดมุ่งหมายที่ตัวผู้เรียนจะได้รับ สอนให้ผู้เรียนรู้จักนำความรู้มาประยุกต์ในการเรียนและการดำเนินชีวิตประจำวัน เพื่อให้ผู้เรียนได้เกิดการเรียนรู้สิ่งใหม่จากประสบการณ์ของครูผู้สอนและตัวผู้เรียนเอง ซึ่งการนำความรู้มาประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมจะช่วยพัฒนาศักยภาพสูงสุดให้กับตัวผู้เรียน

3.ในฐานะที่นักศึกษาจะเป็นครูในอนาคตจะออกแบบการเรียนการสอนที่ที่จะนำแนวคิดนี้ไปใช้ได้อย่างไร
             จะออกแบบการสอนโดยเน้นให้นักเรียนคิดเป็น ทำเป็น รู้จักการแก้ปัญหาเป็น อย่างเช่น ถ้าครูจะสอนเกี่ยวกับเรื่องน้ำท่วม อันดับแรก คือ ครูจะร่วมกันอภิปรายเกี่ยวกับนักเรียน หลังจากนั้นให้นักเรียนวิเคราะห์ถึงสาเหตุและก็ปัญหาที่เกิดขึ้น แล้วก็นำปัญหาที่ได้มาการแก้ปัญหารู้ว่าปัญหาดังกล่าวสามารถนำแนวทางใดมาใช้ในการแก้ปัญหาได้บ้าง เช่น หลักเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูหัว


บทความเรื่อง วิถีแห่งสตีฟ จ๊อบ

1.ข้อสรุปที่ได้จากบทความ
            การที่จะทำงานให้ประสบผลสำเร็จนั้นคนเราไม่จำเป็นต้องเป็นคนเรียนเก่งเสมอไป แต่ต้องเกิดจากใจรักจึงจะสามารถทำสิ่งนั้นให้ประสบผลสำเร็จได้  และการทำงานจะทำคนเดียวไม่ได้จะต้องมีการร่วมมือกันทำงานของบุคคลหลายกลุ่ม จะได้เกิดความคิดที่แตกต่างและหลากหลายงานจึงจะประสบผลสำเร็จได้  และในการทำงานเราก็ควรที่จะเอาใจใส่คนอื่นด้วย ให้คำปรึกษา แนะนำ ให้สิ่งตอบแทนที่ไม่จำเป็นต้องเป็นเงิน ทอง แต่จะเป็นน้ำใจให้กันก็พอก็จะทำให้เกิดความสัมพันธ์กันในกลุ่มที่แน่นหนามากขึ้น

2.ถ้าท่านเป็นครูผู้สอนท่านจะนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์กับการเรียนการสอนได้อย่างไร
จะนำความรู้ที่มีมาใช้ในการสอนนักเรียนทุกคน เพื่อให้ผู้เรียนแสดงความสามารถของแต่ละคนออกมาให้ได้และทำให้เขารู้ว่าเขามีความถนัดด้านใด ก่อนที่จะสอนจะสอบถามถึงความชอบและถนัดในวิชาที่เรียนและนักเรียนเสนอแนวคิดและสิ่งที่จะเรียนที่แตกต่างกันออกไปแล้วนำมาประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอน
3. ในฐานะที่นักศึกษาจะเป็นครูในอนาคตจะออกแบบการเรียนการสอนที่ที่จะนำแนวคิดนี้ไปใช้ได้อย่างไร
สอนเรื่องความสามัคคีและการทำงานเป็นทีม
การเตรียมการสอนเรื่องความสามัคคี
1.ให้นักเรียนรวมกลุ่มกันทำงาน
2.ให้นักเรียนทำโครงงาเรื่องความสามัคคี
3.จัดทำแผนการเรียนรู้
4.นำข้อมูลที่ได้มาทำสื่อเรียนการสอน เช่น PowerPoint เป็นต้น
5.ทำ Mind Map เรื่องความสามัคคี สรุปความรู้ที่ได้
การสอน
1.นำเสนอสื่อการสอน PowerPoint เรื่องความสามัคคี
2.แจกใบความรู้นักเรียนเรื่องความสามัคคี
3.ให้นักเรียนแบ่งกลุ่มกันแล้วให้สรุปสิ่งที่ได้รับแล้วให้ทำ Mind Map เรื่องความสามัคคี
4.นักเรียนนำเสนอ Mind Map เรื่องความสามัคคี
5.เมื่อนำเสนอเสร็จก็ให้บันทึกสิ่งที่ได้รับใบความรู้เรื่องความสามัคคี ที่แจกให้
6. ให้คะแนนความสามัคคีภายในกลุ่มจากการสังเกตของครูในแต่ละกลุ่ม

กิจกรรมที่ 7

             ให้นักศึกษาศึกษาดูโทรทัศน์ครู ให้เลือกเรื่องที่นักศึกษาสนใจมาคนละ 1 เรื่อง และ เขียนลงในบล็อกกิจกรรมของนักเรียน ดังนี้

1.สอนเรื่องอะไร ผู้สอนชื่อ ระดับชั้นที่สอน
สอนเรื่อง              ฉันรักอุทัยธานีสอนโดย
ผู้สอน                    คุณประจักษ์ เอี้ยงเขื่อน
โรงเรียน                สว่างอารมณ์วิทยาคม  
ระดับชั้น               มัธยมศึกษาปีที่ 5
2. เนื้อหาที่ใช้สอนมีอะไรบ้าง
            ต้องการให้นักเรียนภูมิใจในท้องถิ่นที่ตนเองอาศัย กิจกรรมการเรียนนั้น ครูสอนให้สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริงของการเกื้อหนุนต่อนักเรียนในท้องที่นั้น นักเรียนจะได้มีโอกาสศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับจังหวัดของตนเอง ในด้านต่างๆ เช่น ภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ การปกครอง สภาพเศรษฐกิจ สังคม และทรัพยากรธรรมชาติของตนเอง เพื่อให้นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับจังหวัดของตนเองแล้วนั้นทำเกิดความรัก ความภาคภูมิใจ และหวงแหน ในท้องถิ่นของตนเองที่อาศัย  
3. จัดกิจกรรมการสอนด้าน (สติปัญญา=IQ, อารมณ์=EQ, คุณธรรมจริยธรรม=MQ)
ด้านสติปัญญา
·       คุณครูถามคำถามเรื่องท้องถิ่นของนักเรียนแล้วให้นักเรียนตอบคำถามจากความคิดของตนเองแล้วนำมาเขียนลงบนกระดาน
·       นักเรียนร่วมกันสรุปความรู้ที่ได้เพื่อที่จะนำไปวางแผนในการสำรวจชุมชน
ด้านอารมณ์
·       นักเรียนกล้าที่จะเสนอความคิดเห็นที่แตกต่างจากผู้อื่น
·       นักเรียนแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในการวางแผนทำโครงงาน
·       นักเรียนได้สอบถามหาความรู้เพิ่มเติมจากชาวบ้านในชุมชน
·       นักเรียนกล้าที่จะนำเสนองานหน้าชั้นเรียน
ด้านคุณธรรมจริยธรรม
นักเรียนในกลุ่มให้ความร่วมมือกันในการวางแผนลงสำรวจชุมชนอย่างสามัคคี ไม่เอาเปรียบกันในการทำงาน ช่วยเหลือกันในการทำโครงงาน
4. บรรยากาศการจัดห้องเรียน เป็นอย่างไร
อาจารย์ใช้กระบวนการเรียนการสอนที่น่าสนใจมาก นักเรียนได้ใช้กระบวนการกลุ่มในการสืบค้นข้อมูล ตามที่ได้วางแผนกันไว้ สืบค้นจากการสัมภาษณ์บุคคลในท้องถิ่นโดยตรงทำให้ได้ข้อมูลที่ชัดเจน และสามารถนำความรู้ที่ได้มาเรียบเรียงเกิดองค์ความรู้ใหม่ และมีการนำเสนอโดยตัวแทนของนักเรียน ซึ่งจากการเรียนการสอนแบบนี้ทำให้ผู้เรียนได้รู้จักการทำงานร่วมกันมีการวางแผนการทำงาน นักเรียนหาความรู้ด้วยตนเองทำให้เกิดความภาคภูมิใจ และมีการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน และยังเป็นการเผยแพร่สินค้า และสิ่งดีๆ ของท้องถิ่นอีกด้วย

กิจกรรมที่ 6